Namnan

Namnan

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559


กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา YC (Youth Counselor)

ข้อมูลทั่วไป
ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคม และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นไทยได้รับการครอบงำจากสื่อ วัฒนธรรมจากต่างชาติ ทำให้เกิดปัญหาสังคมที่วัยรุ่นต้องเผชิญ บางปัญหาเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถเข้าถึง วัยรุ่นจึงหลงไปในทางที่ผิด สาเหตุก็มาจากการตัดสินใจหุนหันพลันแล่น และไม่มีที่ปรึกษาที่จะคอยแนะนำช่วยเหลือ วัยรุ่นจึงต้องการใครก็ได้ที่คอยรับฟัง ดูแล คอยเป็นกำลังใจให้ในยามที่ท้อแท้และสิ้นหวังและคนๆนั้นเอง จะเป็นคนที่ถือตะเกียงและคอยจูงมือเขาออกจากทางที่มืดสลัว

กระบวนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาผู้เรียนทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจและสังคม นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว โรงเรียนจำเป็น ต้องดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามศักยภาพที่พึงมี ขณะที่สภาพแวดล้อม
ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและค่อนข้างสับสนซับซ้อนมากขึ้นทำให้เด็กและเยาวชนเสี่ยง ต่อการเผชิญปัญหาทวีเพิ่มขึ้น การสร้างมาตรการในการสร้างภูมิคุ้มกันปกป้องส่งเสริมนักเรียนในทางที่เหมาะ สมจึงเป็นภาระสำคัญของสถานศึกษา

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อย่างเป็นระบบมากขึ้น ทั้งนี้ โดยอาศัยการผนึกพลังการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใกล้ชิด เข้าถึง และเข้าใจนักเรียนมากที่สุด พวกหนึ่งคือเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง และถ้านักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน ๆได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านจิตวิทยาให้คำปรึกษาเบื้องต้น จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยป้องกัน
ลดความเสี่ยงและแก้ปัญหาที่นักเรียนเผชิญอยู่ได้มาก

หลักการสำคัญที่เป็นเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้นักเรียนทำหน้าที่เป็น เพื่อนที่ปรึกษา” YC (Youth Counselor) ได้แก่
1. การใช้หลักจิตวิทยาของกลุ่มเพื่อน (Peer Psychology / Peer to Peer – P2P) เป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะบุคคลที่มีพื้นเพ วัย วิถีชีวิต
ประจำวันและมีกิจกรรมร่วมกันจะสนิทสนม คุ้นเคย และไว้วางใจสามารถสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผยและเข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่าย

2. การให้คำปรึกษาโดยเพื่อน (Peer /counselor / YC) มุ่งให้นักเรียนที่มีสัมพันธภาพที่ดี
กับเพื่อนๆ ได้มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในกระบวนการแนะแนวให้คำปรึกษาเพื่อนนักเรียน ด้วยกันและการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการชี้แนะของครูแนะแนว

3. เพื่อนที่ปรึกษา / ยุวชนแนะแนว (Youth Counselor) คือ นักเรียนที่โรงเรียนพิจารณา
คัดสรรว่าเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถคิดวิเคราะห์ มีจิตอาสาในการรับฟังให้คำปรึกษาหารือและได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความ สามารถในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาโดยการดุแลชี้ แนะอย่างใกล้ชิดของครูแนะแนว

บทบาทหน้าที่ของ YC
YC มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่ประสบกับความ วิตกกังวลหรือความยุ่งยากใจให้เข้าใจปัญหาให้ชัดเจน และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นตัวแบบให้เพื่อน ช่วยให้เพื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองและยังเป็นการช่วยส่งเสริม พันธนภาพระหว่างเพื่อนด้วยกันอีกด้วย
YC ควรได้รับการฝึกอบรมทักษะการให้คำปรึกษา เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นที่อยู่ในวัยเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนค่านิยม ประสบการณ์และวิถีการดำเนินชีวิตให้กับผู้รับคำปรึกษา
งานที่ทำเป็นงานขั้นพื้นฐาน มีข้อจำกัดด้วยทักษะเฉพาะที่ได้รับการฝึกอบรมและอยู่ภายใต้การนิเทศของผู้ที่เป็นวิชาชีพ ปัญหาที่ให้การช่วยเหลือเป็นปัญหาทั่วไป ที่ไม่ใช่ปัญหารุนแรงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็น วิชาชีพ YC เป็นเสมือนสะพานเชื่อมโยงระหว่างเพื่อนกับผู้ให้ความช่วยเหลือที่เป็นวิชาชีพ โดยทั่วไป YC ควรเป็นสมาชิกในชุมชนเดียวกันกับเพื่อนที่มาขอรับคำปรึกษา

จรรยาบรรณของ YC
1. เคารพในศักดิ์ศรีและส่งเสริม สนับสนุน สวัสดิภาพของเพื่อนผู้มารับคำปรึกษาและต้องระวังไม่ให้ผู้รับคำปรึกษาได้รับ การกระทบกระทั่งทางจิตใจ
2. สัมพันธภาพในการให้คำปรึกษาและข้อมูลที่ได้จากสัมพันธภาพนั้น จะต้องเก็บรักษาเป็นความลับ
3. บันทึกต่างๆ ในการให้คำปรึกษา รวมทั้งบันทึกจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแบบทดสอบ เครื่องบันทึกเสียงและ เอกสารอื่นๆ ถือได้ว่าเป็นข้อมูล ที่จะนำไปใช้จะต้องปกปิดเอกลักษณ์ของเพื่อนผู้รับคำปรึกษา และระมัดระวัง อย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดผลเสียหายแก่เพื่อนผู้รับคำปรึกษาด้วย
4. ควรได้ชี้แจงเงื่อนไขต่างๆ ของการให้คำปรึกษาให้เพื่อนผู้รับคำปรึกษาทราบ
5. ในการให้คำปรึกษา YC ต้องหลีกเลี่ยงสภาพที่จะทำให้เพื่อนผู้รับคำปรึกษาอยู่ในภาวะขัดแย้งในใจ
6. ยุติคำปรึกษาเมื่อ YC ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษาได้อีกต่อไป และให้ส่งต่อไปพบผู้เชี่ยวชาญที่ เหมาะสมต่อไป
7. หากได้รับข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น YC ต้องรายงานให้แก่ผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องในแนวทางที่ไม่เปิดเผยว่าได้รับข้อมูลจากเพื่อนผู้รับคำปรึกษาคนใด

วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา
1. สำรวจตนเอง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
2. ลดระดับความเครียด และความไม่สบายใจที่เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาทักษะทางด้านสังคม ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการจักการกับปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เช่น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ มากขึ้น มีพฤติกรรมการเรียนที่ดี และสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

ประเภทของการให้คำปรึกษา
1. การให้คำปรึกษารายบุคคล
2. การให้คำปรึกษากลุ่ม คือ การให้การช่วยเหลือแก่เพื่อนผู้รับคำปรึกษาจำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องที่คล้ายคลึงกัน หรือมีความต้องการที่จะพัฒนาตนในเรื่องเดียวกัน
3. การให้คำปรึกษาครอบครัว

ข้อควรคำนึงในการให้คำปรึกษา
1. ตรงต่อเวลานัดหมายทั้งเริ่มต้น และสิ้นสุดการให้คำปรึกษา
2. ให้ความสำคัญกับภาษาท่าทางของเพื่อนผู้รับคำปรึกษาให้มาก
3. หลีกเลี่ยงการถามข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือเจาะจงเกินไป
4. หลีกเลี่ยงการแนะนำให้เพื่อนผู้รับคำปรึกษาปฏิบัติตามความเห็นของ YC
5. หลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์ร่วมและการเห็นชอบกับพฤติกรรมของเพื่อนผู้รับคำปรึกษา
6. ไม่ควรรีบด่วนที่จะสรุปและแก้ปัญหา โดยที่เพื่อนผู้รับคำปรึกษาไม่มีโอกาสได้สำรวจปัญหา และสาเหตุมากพอ
7. หลังให้การปรึกษาแต่ละครั้งแล้ว YC ควรบันทึกผลการให้คำปรึกษาไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการให้คำปรึกษาต่อไป
8. ต้องรักษาความลับ และประโยชน์ของเพื่อนผู้รับคำปรึกษา โดยต้องระมัดระวังที่จะไม่นำเรื่องราวของเพื่อนผู้รับคำปรึกษาไปพูดในที่ต่างๆ

ลักษณะที่ดีของ YC
1. รู้จัก และยอมรับตนเอง
2. อดทน ใจเย็น
3. จริงใจ และตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น
4. มีท่าทีที่เป็นมิตร และมองโลกในแง่ดี
5. ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น และช่างสังเกต
6. ใช้คำพูดได้เหมาะสม
สิ่งที่สำคัญจะต้อง “เก็บรักษาความลับของเพื่อน” ได้เป็นอย่างดี


ตัวอย่างการบริการการให้คำปรึกษา 1

ตัวอย่างการบริการการให้คำปรึกษา 2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น